วันจันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
เสื้อครุย
ครุย
เป็นเสื้อคลุมประเภทหนึ่ง มีลักษณะหลวม ยาวถึงเข่าหรือทั้งตัว ใช้สวมหรือคลุมทับด้านนอก ทั้งชายและหญิงในยุโรปใส่ครุยกันมาตั้งแต่ยุคกลางตอนต้นจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 17 ปัจจุบันครุยยังคงใช้สวมใส่เพื่อแสดงตำแหน่งฐานะในอาชีพที่มีรากฐานย้อนไปได้ถึงยุคกลาง เช่น ผู้พิพากษา ในวงวิชาการ ครุยยังใช้เพื่อแสดงวิทยฐานะอีกด้วย
ครุยในประเทศไทย
ในประเทศไทย, ครุยเป็นเสื้อคลุมประดับเกียรติยศ สวมทับบนเครื่องแบบเต็มยศตามหน้าที่ในพระราชพิธี ซึ่งมีหมายรับสั่งให้สวมครุย มี 3 แบบคือ ครุยพระราชวงศ์ ครุยเสนามาตย์ และครุยตำแหน่ง
ครุยพระราชวงศ์ เป็นฉลองพระองค์ครุยสำหรับพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ สำหรับฉลองพระองค์ครุยในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้นเรียกกันว่า ฉลองพระองค์บรมราชภูษิตาภรณ์
ครุยเสนามาตย์ ตามความในมาตรา 5 ของพระราชกำหนดเสื้อครุย พุทธศักราช 2457 มีความว่า ผู้ซึ่งจะสวมครุยได้โดยบรรดาศักดิ์นั้น คือ ผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงนับตั้งแต่ชั้นทุติยจุลจอมเกล้า หรือจุลวราภรณ์ หรือจุลสุราภรณ์ขึ้นไป
ครุยตำแหน่ง ตามมาตรา 6 ของพระราชกำหนดเสื้อครุย พุทธศักราช 2457 ได้กำหนดว่าผู้ที่จะสวมเสื้อนั้น คือ (ก) ผู้พิพากษาทุกชั้นให้สวมเสื้อครุยในเวลาแต่งเต็มยศทุกเมื่อ (ข) พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการผู้อ่านประกาศหรืออ่านคำถวายชัยมงคลในชั่วเวลาเฉพาะกาล และ (ค) ข้าราชการเข้าในหน้าที่พระราชพิธีอันมีกำหนดให้สวมเสื้อครุย เสื้อครุยเสนามาตย์มี 3 ชั้นคือ ชั้นเอก ชั้นโท และชั้นตรี ได้มีการกำหนดไว้แน่นอนว่าตำแหน่งและยศใดมีสิทธิ์สวมเสื้อครุยชั้นใด
นอกเหนือจากครุยที่ใช้สวมในพระราชพิธีแล้ว ยังมีครุยอีกสามสถาบัน ได้แก่
1. ครุยอาจารย์และครุยครูของโรงเรียนมหาดเล็กหลวง (โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัยในปัจจุบัน) ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานแก่ผู้ตรวจการพิเศษ กรรมการ อาจารย์ และครูของโรงเรียนมหาดเล็กหลวงเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2456 ต่อมาได้พระราชทานแก่โรงเรียนที่อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์อีก 3 แห่ง (โรงเรียนมหาดเล็กหลวงเชียงใหม่ โรงเรียนราชวิทยาลัย โรงเรียนพรานหลวง)
2. ครุยเนติบัณฑิต ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานแก่สมาชิกเนติบัณฑิตยสภา เมื่อ พ.ศ. 2457
3. ครุยของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้เมื่อ พ.ศ. 2473
ครุยของสามสถาบันนี้นอกเหนือจากครุยของโรงเรียนวชิราวุธฯ ซึ่งได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ได้มีพระราชกำหนดว่าด้วยครุยของทั้งเนติบัณฑิตยสภา และของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ครุยวิทยฐานะ
ครุยวิทยฐานะ นับว่าเป็นชุดพิธีการถือธรรมเนียมปฏิบัติมาจากพิธีการสำเร็จการศึกษาของมหาวิทยาลัยในต่างประเทศตะวันตก ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยในประเทศไทยรับธรรมเนียมนี้มาประยุกต์ใช้ โดยได้กำหนดชุดครุยขึ้นเพื่อใช้ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรและจะใช้ครุยชนิดนี้ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร เพื่อแสดงถึงปริญญา วิทยฐานะทางการศึกษาตามที่ตนสำเร็จการศึกษา การที่มหาวิทยาลัยใดจะกำหนดชุดครุยเป็นเครื่องแสดงวิทยฐานะของมหาวิทยาลัย ได้นั้น มหาวิทยาลัยจะต้องตราเป็นกฎหมาย พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วย ครุยแสดงวิทยฐานะบัณฑิตขึ้นตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนั้น ๆ ผู้ใดไม่ได้สำเร็จการศึกษาในปริญญานั้น หากมีการนำชุดครุยประเภทนี้มาใช้โดยไม่ได้รับการอนุมัติจากมหาวิทยาลัยถือ เป็นโทษทางอาญามีโทษสูงสุดถึงจำคุก ชุดครุยพระราชทานปริญญาบัตรที่ใช้ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรในยุคปัจจุบันมี อยู่หลากหลายประเภท แถบสี ขนิดของเนื้อผ้า ตามแต่ละมหาวิทยาลัยจะกำหนดขึ้นมาเพื่อแสดงถึงวิทยฐานะทางการศึกษา ปริญญาของบัณฑิตที่จบการศึกษาในปริญญานั้น ๆ ทั้งนี้สามารถแยกชุดครุยที่ใช้พระราชทานปริญญาบัตรได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่
1.รูปแบบตามแบบโบราณพระราชพิธีไทย
มหาวิทยาลัยที่ใช้ครุยแบบโบราณพระราชพิธีไทย ลักษณะแบบครุยจะเป็นชุดครุยคล้าย ๆ ชุดครุยพระยาแรกนา หรือขุนนางสมัยโบราณหรือที่เรียกว่าครุยเทวดา แยกตามชนิดเนื้อผ้าและสีดังนี้
ครุยเนื้อผ้าโปร่ง สีขาว
* จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
* มหาวิทยาลัยขอนแก่น
* มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
* มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 9 แห่ง
* มหาวิทยาลัยนเรศวร
* มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
* มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
* มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
* มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์
ครุยเนื้อผ้าทึบ สีหมากสุก(สีแสด)หรือสีแดง สีแดงเลือดหมู
* สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
* มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
* มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
* สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน ผ้าทึบสีเลือดหมู
* มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เนื้อผ้าสีแดง แถบตุง
ครุยเนื้อผ้าทึบ สีดำ
* มหาวิทยาลัยราชภัฎ ทั้งนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏบางแห่งได้มีการเปลี่ยนแปลงชุดครุยเป็นแบบฉบับของตนเองเช่น มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ในปัจจุบันเนื้อผ้าใช้พื้นสีม่วงซึ่งเป็นสีที่มาจากสีประจำมหาวิทยาลัย คือ ม่วง-ขาว ส่วนแถบบอกคณะและระดับ บัณฑิต มหาบัณฑิต ดุษฎีบัณฑิตยังคงเหมือนเดิม
* สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม
2.รูปแบบตามแบบตะวันตก
ครุยตามแบบตะวันตก ลักษณะแบบครุยจะเป็นครุยคลุม ตัวอย่างเช่น ครุยตุลาการหรือทนายความ มหาวิทยาลัยในประเทศไทยที่ใช้ครุยลักษณะนี้ได้แก่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และได้แยกครุยประเภทนี้ออกเป็น 2 แบบคือ แบบที่มีหมวกกับแบบที่ไม่มีหมวกประดับฮูด ชุดครุยแบบตะวันตกแบบมีหมวก มหาวิทยาลัยที่ใช้ครุยชนิดนี้ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรได้แก่
* มหาวิทยาลัยแม่โจ้
* มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
* มหาวิทยาลัยมหิดล
* มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
* มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ชุดครุยแบบตะวันตกแบบที่ไม่มีหมวก เนื้อผ้าสีดำประดับฮูด
* มหาวิทยาลัยศิลปากร
* มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
* มหาวิทยาลัยบูรพา (มีหมวกสำหรับดุษฎีบัณฑิตเท่านั้น )
* มหาวิทยาลัยทักษิณ
* มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
* มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
* มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เนื้อผ้าสีเทา
* มหาวิทยาลัยรามคำแหง
* มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
* มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
* มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
* มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
* มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
* มหาวิทยาลัยนครพนม
* สถาบันการพลศึกษา
ที่มา postjung
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)