เสื้อนักศึกษา ชุดนักศึกษา หญิง ชาย กระโปรงนักศึกษา ไซส์ใหญ่ กระโปรงทรงเอ ทรงสอบ กระโปรงพรีท พรีทเอวต่ำ กางเกง เข็มขัด ตุ้งติ้ง CAMPUS เครื่องแบบนักศึกษา เสื้อนักศึกษาหญิง เสื้อนักศึกษาชาย เสื้อนักศึกษาไซส์ใหญ่ กางเกงนักศึกษา เข็มขัดนักศึกษา หัวเข็มขัด เนกไทนักศึกษา กางเกงเดฟ กระบอกเล็ก ขาม้า รูปภาพนักศึกษาสวย น่ารัก ใส
หน้าแรก
เสื้อนักศึกษา
กระโปรงนักศึกษา
กางเกงนักศึกษา
เข็มขัดนักศึกษา
ตุ้งติ้งนักศึกษา
ทรงผมรับปริญญา
ไปมอเตอร์โชว์กับนักศึกษา
นักศึกษากับไอที

เพลงรับน้อง เพลงเชียร์กีฬา
รายชื่อมหาวิทยาลัย/สถาบัน
นักศึกษาพาเที่ยว
ชุดนักศึกษาหญิง ชุดนักศึกษาชาย กระโปรงนักศึกษาไซส์ใหญ่ university uniform,student uniform,Thailand university, Thai girl,Student girl,Pretty girl เที่ยวนักศึกษา ชุดว่ายน้ำ นางแบบ เรื่องเล่านักศึกษา นักศึกษาขาย ของ ดารา บันเทิง แบบทรงผมรับปริญญา

วันจันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เสื้อครุย




ครุย

เป็นเสื้อคลุมประเภทหนึ่ง มีลักษณะหลวม ยาวถึงเข่าหรือทั้งตัว ใช้สวมหรือคลุมทับด้านนอก ทั้งชายและหญิงในยุโรปใส่ครุยกันมาตั้งแต่ยุคกลางตอนต้นจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 17 ปัจจุบันครุยยังคงใช้สวมใส่เพื่อแสดงตำแหน่งฐานะในอาชีพที่มีรากฐานย้อนไปได้ถึงยุคกลาง เช่น ผู้พิพากษา ในวงวิชาการ ครุยยังใช้เพื่อแสดงวิทยฐานะอีกด้วย


ครุยในประเทศไทย


ในประเทศไทย, ครุยเป็นเสื้อคลุมประดับเกียรติยศ สวมทับบนเครื่องแบบเต็มยศตามหน้าที่ในพระราชพิธี ซึ่งมีหมายรับสั่งให้สวมครุย มี 3 แบบคือ ครุยพระราชวงศ์ ครุยเสนามาตย์ และครุยตำแหน่ง

ครุยพระราชวงศ์ เป็นฉลองพระองค์ครุยสำหรับพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ สำหรับฉลองพระองค์ครุยในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้นเรียกกันว่า ฉลองพระองค์บรมราชภูษิตาภรณ์

ครุยเสนามาตย์ ตามความในมาตรา 5 ของพระราชกำหนดเสื้อครุย พุทธศักราช 2457 มีความว่า ผู้ซึ่งจะสวมครุยได้โดยบรรดาศักดิ์นั้น คือ ผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงนับตั้งแต่ชั้นทุติยจุลจอมเกล้า หรือจุลวราภรณ์ หรือจุลสุราภรณ์ขึ้นไป

ครุยตำแหน่ง ตามมาตรา 6 ของพระราชกำหนดเสื้อครุย พุทธศักราช 2457 ได้กำหนดว่าผู้ที่จะสวมเสื้อนั้น คือ (ก) ผู้พิพากษาทุกชั้นให้สวมเสื้อครุยในเวลาแต่งเต็มยศทุกเมื่อ (ข) พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการผู้อ่านประกาศหรืออ่านคำถวายชัยมงคลในชั่วเวลาเฉพาะกาล และ (ค) ข้าราชการเข้าในหน้าที่พระราชพิธีอันมีกำหนดให้สวมเสื้อครุย เสื้อครุยเสนามาตย์มี 3 ชั้นคือ ชั้นเอก ชั้นโท และชั้นตรี ได้มีการกำหนดไว้แน่นอนว่าตำแหน่งและยศใดมีสิทธิ์สวมเสื้อครุยชั้นใด

นอกเหนือจากครุยที่ใช้สวมในพระราชพิธีแล้ว ยังมีครุยอีกสามสถาบัน ได้แก่

1. ครุยอาจารย์และครุยครูของโรงเรียนมหาดเล็กหลวง (โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัยในปัจจุบัน) ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานแก่ผู้ตรวจการพิเศษ กรรมการ อาจารย์ และครูของโรงเรียนมหาดเล็กหลวงเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2456 ต่อมาได้พระราชทานแก่โรงเรียนที่อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์อีก 3 แห่ง (โรงเรียนมหาดเล็กหลวงเชียงใหม่ โรงเรียนราชวิทยาลัย โรงเรียนพรานหลวง)
2. ครุยเนติบัณฑิต ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานแก่สมาชิกเนติบัณฑิตยสภา เมื่อ พ.ศ. 2457
3. ครุยของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้เมื่อ พ.ศ. 2473

ครุยของสามสถาบันนี้นอกเหนือจากครุยของโรงเรียนวชิราวุธฯ ซึ่งได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ได้มีพระราชกำหนดว่าด้วยครุยของทั้งเนติบัณฑิตยสภา และของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ครุยวิทยฐานะ

ครุยวิทยฐานะ นับว่าเป็นชุดพิธีการถือธรรมเนียมปฏิบัติมาจากพิธีการสำเร็จการศึกษาของมหาวิทยาลัยในต่างประเทศตะวันตก ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยในประเทศไทยรับธรรมเนียมนี้มาประยุกต์ใช้ โดยได้กำหนดชุดครุยขึ้นเพื่อใช้ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรและจะใช้ครุยชนิดนี้ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร เพื่อแสดงถึงปริญญา วิทยฐานะทางการศึกษาตามที่ตนสำเร็จการศึกษา การที่มหาวิทยาลัยใดจะกำหนดชุดครุยเป็นเครื่องแสดงวิทยฐานะของมหาวิทยาลัย ได้นั้น มหาวิทยาลัยจะต้องตราเป็นกฎหมาย พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วย ครุยแสดงวิทยฐานะบัณฑิตขึ้นตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนั้น ๆ ผู้ใดไม่ได้สำเร็จการศึกษาในปริญญานั้น หากมีการนำชุดครุยประเภทนี้มาใช้โดยไม่ได้รับการอนุมัติจากมหาวิทยาลัยถือ เป็นโทษทางอาญามีโทษสูงสุดถึงจำคุก ชุดครุยพระราชทานปริญญาบัตรที่ใช้ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรในยุคปัจจุบันมี อยู่หลากหลายประเภท แถบสี ขนิดของเนื้อผ้า ตามแต่ละมหาวิทยาลัยจะกำหนดขึ้นมาเพื่อแสดงถึงวิทยฐานะทางการศึกษา ปริญญาของบัณฑิตที่จบการศึกษาในปริญญานั้น ๆ ทั้งนี้สามารถแยกชุดครุยที่ใช้พระราชทานปริญญาบัตรได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่

1.รูปแบบตามแบบโบราณพระราชพิธีไทย

มหาวิทยาลัยที่ใช้ครุยแบบโบราณพระราชพิธีไทย ลักษณะแบบครุยจะเป็นชุดครุยคล้าย ๆ ชุดครุยพระยาแรกนา หรือขุนนางสมัยโบราณหรือที่เรียกว่าครุยเทวดา แยกตามชนิดเนื้อผ้าและสีดังนี้

ครุยเนื้อผ้าโปร่ง สีขาว

* จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
* มหาวิทยาลัยขอนแก่น
* มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
* มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 9 แห่ง
* มหาวิทยาลัยนเรศวร
* มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
* มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
* มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
* มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์

ครุยเนื้อผ้าทึบ สีหมากสุก(สีแสด)หรือสีแดง สีแดงเลือดหมู

* สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
* มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
* มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
* สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน ผ้าทึบสีเลือดหมู
* มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เนื้อผ้าสีแดง แถบตุง

ครุยเนื้อผ้าทึบ สีดำ

* มหาวิทยาลัยราชภัฎ ทั้งนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏบางแห่งได้มีการเปลี่ยนแปลงชุดครุยเป็นแบบฉบับของตนเองเช่น มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ในปัจจุบันเนื้อผ้าใช้พื้นสีม่วงซึ่งเป็นสีที่มาจากสีประจำมหาวิทยาลัย คือ ม่วง-ขาว ส่วนแถบบอกคณะและระดับ บัณฑิต มหาบัณฑิต ดุษฎีบัณฑิตยังคงเหมือนเดิม
* สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม

2.รูปแบบตามแบบตะวันตก

ครุยตามแบบตะวันตก ลักษณะแบบครุยจะเป็นครุยคลุม ตัวอย่างเช่น ครุยตุลาการหรือทนายความ มหาวิทยาลัยในประเทศไทยที่ใช้ครุยลักษณะนี้ได้แก่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และได้แยกครุยประเภทนี้ออกเป็น 2 แบบคือ แบบที่มีหมวกกับแบบที่ไม่มีหมวกประดับฮูด ชุดครุยแบบตะวันตกแบบมีหมวก มหาวิทยาลัยที่ใช้ครุยชนิดนี้ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรได้แก่

* มหาวิทยาลัยแม่โจ้
* มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
* มหาวิทยาลัยมหิดล
* มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
* มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์


ชุดครุยแบบตะวันตกแบบที่ไม่มีหมวก เนื้อผ้าสีดำประดับฮูด

* มหาวิทยาลัยศิลปากร
* มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
* มหาวิทยาลัยบูรพา (มีหมวกสำหรับดุษฎีบัณฑิตเท่านั้น )
* มหาวิทยาลัยทักษิณ
* มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
* มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
* มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เนื้อผ้าสีเทา
* มหาวิทยาลัยรามคำแหง
* มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
* มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
* มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
* มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
* มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
* มหาวิทยาลัยนครพนม
* สถาบันการพลศึกษา
ที่มา postjung

วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2552

กลับไปหน้านักศึกษา

รายชื่อมหาวิทยาลัยในประเทศไทย เรียงตามตัวอักษร
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
http://www.ku.ac.th/
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
http://www.bu.ac.th/
มหาวิทยาลัยเกริก
http://www.krirk.ac.th/
มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
http://www.kbu.ac.th/
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
http://www.kku.ac.th/
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
http://www.chula.ac.th/
มหาวิทยาลัยชินวัตร
http://www.shinawatra.ac.th/
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
http://www.cmu.ac.th/
มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
http://www.stjohn.ac.th/
มหาวิทยาลัยทักษิณ
http://www.tsu.ac.th/
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
http://www.kmutt.ac.th/
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
http://www.kmutnb.ac.th/
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
http://www.mut.ac.th/
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
http://www.sut.ac.th/
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
http://www.tu.ac.th/
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
http://www.dpu.ac.th/
มหาวิทยาลัยนเรศวร
http://www.nu.ac.th/
มหาวิทยาลัยบูรพา
http://www.buu.ac.th/
มหาวิทยาลัยพายัพ
http://www.payap.ac.th/
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
http://www.msu.ac.th/
มหาวิทยาลัยมหิดล
http://www.mahidol.ac.th/
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
http://www.mju.ac.th/
มหาวิทยาลัยรังสิต
http://www.rsu.ac.th/
มหาวิทยาลัยรัชต์ภาคย์
http://www.rajapark.ac.th/
มหาวิทยาลัยรามคำแหง
http://www.ru.ac.th/
มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งเอเซีย
http://www.ait.ac.th/
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
http://www.wu.ac.th/
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
http://www.swu.ac.th/
มหาวิทยาลัยศรีปทุม
http://www.spu.ac.th/
มหาวิทยาลัยศิลปากร
http://www.su.ac.th/
มหาวิทยาลัยสงขลานคริทร์
http://www.psu.ac.th/
มหาวิทยาลัยสยาม
http://www.siamu.ac.th/
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
http://www.stou.ac.th/
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
http://www.utcc.ac.th/
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
http://www.hcu.ac.th/
มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
http://www.au.edu/
มหาวิทยาลัยอิสเทิร์นเอเซีย
http://www.eau.ac.th/
มหาวิทยาลัยเอเซียอาคเนย์
http://www.sau.ac.th/
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
http://www.ubu.ac.th/


รายชื่อสถาบัน เรียงตามตัวอักษร
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
http://www.nida.ac.th/
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
http://www.kmitl.ac.th/
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
http://www.rmut.ac.th/
วิทยาเขตปทุมธานี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
http://www.rmutsb.ac.th/
วิทยาเขตนนทบุรี วิทยาเขตพระนครศรีอยุธยา วาสุกรี วิทยาเขตพระนครศรีอยุธยา หันตรา วิทยาเขตสุพรรณบุรี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
http://www.rmutk.ac.th/
วิทยาเขตเทคนิคกรุงเทพฯ วิทยาเขตบพิตรพิมุข มหาเมฆ วิทยาเขตพระนครใต้
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
http://www.rmutr.ac.th/
วิทยาเขตเพาะช่าง วิทยาเขตบพิตรพิมุข จักรวรรดิ วิทยาเขตศาลายา วิทยาเขตวังไกลกังวล
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
http://www.rmutp.ac.th/
วิทยาเขตเทเวศร์ วิทยาเขตโชติเวช วิทยาเขตพณิชยการพระนคร วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ วิทยาเขตพระนครเหนือ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
http://www.rmutto.ac.th/
วิทยาเขตบางพระ วิทยาเขตจักรพงษภูวนารถ วิทยาเขตจันทบุรี วิทยาเขตอุเทนถวาย
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
http://www.rmutl.ac.th/
วิทยาเขตภาคพายัพ จังหวัดเชียงใหม่ วิทยาเขตน่าน วิทยาเขตลำปาง วิทยาเขตเชียงราย วิทยาเขตตาก วิทยาเขตพิษณุโลก
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
http://www.rmuti.ac.th/
วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดนครราชสีมา วิทยาเขตสุรินทร์ วิทยาเขตขอนแก่น วิทยาเขตกาฬสิทธุ์ วิทยาเขตสกลนคร
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
http://www.rmutsv.ac.th/
วิทยาเขตภาคใต้ จังหวัดสงขลา วิทยาเขตนครศรีธรรมราช วิทยาเขตศรีวิชัย จังหวัดนครศรีธรรมราช คณะเกษตรศาสตร์นครศรีธรรมราช คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง จังหวัดตรัง
สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์
http://www.cri.or.th/


รายชื่อสถาบันราชภัฏ เรียงตามตัวอักษร
กำแพงเพชร
http://www.kpru.ac.th/
กาญจนบุรี
http://www.kru.ac.th/
กาฬสินธุ์
http://web1.rru.ac.th/
จอมบึง
http://www.mcru.ac.th/
จันทรเกษม
http://www.chandra.ac.th/
เชียงราย
http://www.ricr.ac.th/
เชียงใหม่
http://www.cmru.ac.th/
ชัยภูมิ
http://www.cpru.ac.th/
เทพสตรี
http://www.tru.ac.th/
ธนบุรี
http://www.dru.ac.th/
นครปฐม
http://www.npru.ac.th/
นครพนม
http://www.npu.ac.th/
นครราชสีมา
http://www.nrru.ac.th/
นครศรีธรรมราช
http://www.nstru.ac.th/
นครสวรรค์
http://www.nsru.ac.th/
บ้านสมเด็จเจ้าพระยา
http://www.bsru.ac.th/
บุรีรัมย์
http://www.bru.ac.th/
พระนคร
http://www.pnru.ac.th/
พระนครศรีอยุธยา
http://www.aru.ac.th/
พิบูลสงคราม
http://www.psru.ac.th/
เพชรบุรี
http://www.pbru.ac.th/
เพชรบูรณ์
http://www.pcru.ac.th/
ภูเก็ต
http://www.pkru.ac.th/
มหาสารคาม
http://www.rmu.ac.th/
ยะลา
http://www.yru.ac.th/
ร้อยเอ็ด
http://www.reru.ac.th/
ราชนครินทร์
http://web1.rru.ac.th/
รำไพพรรณี
http://www.rbru.ac.th/
ลำปาง
http://www.lpru.ac.th/
เลย
http://www.lru.ac.th/
วไลยอลงกรณ์ (เพชรบุรีวิทยาลงกรณ์)
http://www.vru.ac.th/
ศรีสะเกษ
http://www.sskru.ac.th/
สกลนคร
http://www.snru.ac.th/
สงขลา
http://www.riska.ac.th/
สวนดุสิต
http://www.dusit.ac.th/
สวนสุนันทา
http://www.ssru.ac.th/
สุราษฎร์ธานี
http://www.sru.ac.th/
สุรินทร์
http://www.srru.ac.th/
หมู่บ้านจอมบึง
http://www.mcru.ac.th/
อุดรธานี
http://www.udru.ac.th/
อุตรดิตถ์
http://www.uru.ac.th/
อุบลราชธานี
http://www.ubru.ac.th/